หอบหืด น่ากลัว แต่รักษาได้
หอบหืด น่ากลัว แต่รักษาได้
04/12/2019
สตรอว์เบอร์รี่ กับประโยชน์ดีๆ เพื่อสุขภาพ
สตรอว์เบอร์รี่ กับประโยชน์ดีๆ เพื่อสุขภาพ
04/12/2019
หอบหืด น่ากลัว แต่รักษาได้
หอบหืด น่ากลัว แต่รักษาได้
04/12/2019
สตรอว์เบอร์รี่ กับประโยชน์ดีๆ เพื่อสุขภาพ
สตรอว์เบอร์รี่ กับประโยชน์ดีๆ เพื่อสุขภาพ
04/12/2019
Show all

แอปเปิ้ล กินดีมีประโยชน์

แอปเปิ้ล กินดีมีประโยชน์

แอปเปิ้ล กินดีมีประโยชน์

แอปเปิ้ล นับเป็นผลไม้อีกชนิดที่ผู้คนทุกวัยนิยมรับประทานอย่างแพร่หลาย นอกจากจะนำมาแปรรูปได้หลากหลาย หารับประทานได้ง่าย รสชาติอร่อยแล้ว ยังอุดมไปด้วยคุณประโยชน์ที่เชื่อว่าดีต่อร่างกายหลายอย่าง ไม่ว่าจะช่วยดูแลอาการท้องร่วงหรือท้องผูก ลดขนาดก้อนนิ่ว ป้องกันโรคมะเร็ง หรืออุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญที่ช่วยบำรุงร่างกาย อีกทั้งยังปรากฏงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับสรรพคุณของแอปเปิ้ลในการรักษาปัญหาสุขภาพหลายมุมมอง เพื่อพิสูจน์ว่าแอปเปิ้ลมีสรรพคุณตามที่กล่าวอ้างจริงหรือไม่

แอปเปิ้ลมีสรรพคุณทางยาจริงหรือไม่

คุณประโยชน์เกี่ยวกับแอปเปิ้ลได้รับการกล่าวอ้างหลายประการ ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่ความเชื่อที่พูดต่อกันมา แต่ยังปรากฏงานวิจัยทางการแพทย์ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของแอปเปิ้ลอันส่งผลต่อสุขภาพหลายประเด็น โดยแต่ละประเด็นนั้นก็มีผลการทดลองที่แตกต่างกัน ดังนี้

ป้องกันปัญหาสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด

โรคหัวใจและหลอดเลือดเกี่ยวเนื่องกับภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว เนื่องจากเกิดการสะสมคราบพลัคตามผนังหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดตีบและเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดลงหรือหยุดการไหลเวียนของโลหิตในกรณีที่เกิดลิ่มเลือด โดยเหตุดังกล่าวอาจก่อให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดหรือหลอดเลือดสมองตีบตัน การรับประทานแอปเปิ้ลอาจช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากแอปเปิ้ลมีสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานของหลอดเลือดและลดความดันโลหิต คือสารฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารพฤกษเคมีชนิดหนึ่ง พบได้ในพืชและผลไม้หลายอย่าง เช่น ชาเขียว เบอร์รี่ คะน้าฝรั่งหรือผักเคล หัวหอม รวมทั้งแอปเปิ้ล โดยสารฟลาโวนอยด์ที่พบในแอปเปิ้ลนั้นเป็นฟลาโวนอยด์ชนิดเควอซิทิน (Quercetin) ที่อาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคหอบ มะเร็งบางชนิด และโรคหลอดเลือดหัวใจ ข้อสันนิษฐานนี้ได้รับการพิสูจน์จากการทดลองคุณสมบัติของฟลาโวนอยด์ในแอปเปิ้ลกับไนเตรทในผักปวยเล้ง เพื่อดูว่าสารอาหารทั้ง 2 อย่าง ส่งผลต่อระดับไนตริกออกไซด์อันช่วยบำรุงหลอดเลือดสำหรับผู้ที่มีสุขภาพดีหรือไม่ พบว่าฟลาโวนอยด์และไนเตรทที่ได้จากการรับประทานแอปเปิ้ลหรือผักปวยเล้งนั้นเพิ่มระดับไนตริกออกไซด์ในร่างกายได้เป็นอย่างดี เสริมสร้างการทำงานของหลอดเลือด และระดับความดันโลหิตลดลง ซึ่งอาจส่งผลดีต่อสุขภาพหลอดเลือดและหัวใจ ทั้งนี้ ผลการทดลองยังสอดคล้องกับงานทบทวนวิจัยที่ศึกษาประเด็นนี้ โดยพบว่าประสิทธิภาพของฟลาโวนอยด์ในแอปเปิ้ล โกโก้ และชา ช่วยบำรุงการทำงานของหลอดเลือดและลดความดันโลหิต อย่างไรก็ตาม ยังต้องศึกษาปริมาณสารฟลาโวนอยด์ที่ส่งผลให้ร่างกายได้รับประโยชน์ดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มเติม

แม้งานวิจัยหลายชิ้นจะแสดงว่าฟลาโวนอยด์ในแอปเปิ้ลมีฤทธิ์บำรุงหลอดเลือดและลดความดันโลหิตหรือไขมันไม่ดีในร่างกาย อันช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่งานวิจัยบางชิ้นกลับแสดงผลตรงกันข้าม งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ได้ศึกษาความเกี่ยวข้องของการบริโภคเคทาชินกับการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง โดยรวบรวมข้อมูลจากผู้ชายอายุ 65-84 จำนวน 806 ราย ตั้งแต่ปี 1985 และทำการศึกษาต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ปี พบว่าสารเคทาชินที่ได้จากการบริโภคแอปเปิ้ล ชาดำ หรือช็อกโกแลต อาจลดความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด แต่ไม่ได้ส่งผลต่อโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งนี้ การได้รับเคทาชินจากแหล่งอาหารที่ต่างชนิดกัน ก็อาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดได้ โดยงานวิจัยอีกชิ้นที่ทำการศึกษาการบริโภคสารดังกล่าวกับอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจในกลุ่มสตรีวัยทอง พบว่าการได้รับสารเคทาชินจากแอปเปิ้ลและไวน์เกี่ยวเนื่องกับอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ในขณะที่สารเคทาชินในชาเขียวไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการเสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าว ความเชื่อเกี่ยวกับสารฟลาโวนอยด์อาจต้องพิจารณาปัจจัยอื่นร่วมด้วย กล่าวคือ คุณประโยชน์ในการป้องกันปัญหาสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดนั้นอาจขึ้นอยู่กับแหล่งอาหารที่ได้รับฟลาโวนอยด์ พฤติกรรมการกิน หรือลักษณะการใช้ชีวิต

นอกจากนี้ กากใยหรือไฟเบอร์ของแอปเปิ้ลอาจเสริมสร้างสุขภาพหลอดเลือดและหัวใจได้มากขึ้น ดังปรากฏในงานวิจัยชิ้นหนึ่งได้ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองจำนวน 23 ราย รับประทานแอปเปิ้ลแบบต่าง ๆ ได้แก่ แอปเปิ้ลเต็มผล กากแอปเปิ้ล น้ำแอปเปิ้ลใส และน้ำแอปเปิ้ลเข้มข้น โดยต้องบริโภคแอปเปิ้ลแต่ละรูปแบบวันละ 5 ครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าผู้ที่บริโภคแอปเปิ้ลทั้งผล กากแอปเปิ้ล หรือน้ำแอปเปิ้ลเข้มข้น มีระดับความเข้มข้นของไขมันไม่ดีลดลง โดยกากแอปเปิ้ลลดความเข้มข้นของไขมันไม่ดีมากถึงร้อยละ 7.9 ต่างจากผู้ที่ดื่มน้ำแอปเปิ้ลแบบใสที่มีระดับความเข้มข้นของไขมันไม่ดีเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับผู้ที่รับประทานแอปเปิ้ลทั้งผลหรือกากแอปเปิ้ล อาจกล่าวได้ว่าไฟเบอร์ที่ได้รับจากการรับประทานแอปเปิ้ลเต็มผล กากแอปเปิ้ล หรือน้ำแอปเปิ้ลที่มีตะกอนนั้นช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ถึงอย่างนั้น ไม่ว่าจะรับประทานแอปเปิ้ลรูปแบบใด ก็ไม่ได้ส่งผลต่อระดับไขมันดี น้ำหนักตัว สัดส่วนระหว่างเอวและสะโพก หรือความดันโลหิต

ต้านอนุมูลอิสระ

หากร่างกายได้รับสารอนุมูลอิสระเข้าไป อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ได้ ผู้ที่ได้รับสารอนุมูลอิสระปริมาณมากอาจทำให้เซลล์ภายในร่างกายถูกทำลาย โดยเชื่อว่าเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอันเกิดจากความเสื่อมตามอายุบางโรค ทั้งนี้ สารอนุมูลอิสระในร่างกายจะเพิ่มขึ้นตามอายุ อันนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ และเซลล์ถูกทำลาย แอปเปิ้ลมีโพลีฟีนอล ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและบำรุงสุขภาพ หลายคนเชื่อว่าโพลีฟีนอลช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น ควบคุมน้ำหนัก หรือดูแลอาการป่วยโรคเบาหวานและระบบประสาท โดยเฉพาะเปลือกแอปเปิ้ลที่อุดมไปด้วยโพลีฟีนอลซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระ งานวิจัยชิ้นหนึ่งได้เปรียบเทียบคุณค่าของสารต้านอนุมูลอิสระจากส่วนต่าง ๆ ของแอปเปิ้ล ประกอบด้วย เปลือก เนื้อแอปเปิ้ล และเนื้อรวมเปลือกแอปเปิ้ล ของแอปเปิ้ล 4 ชนิด ได้แก่ Rome Beauty, Idared, Cortland และ Golden Deliciouse พบว่าเปลือกแอปเปิ้ลทั้ง 4 ชนิดอุดมไปด้วยสารฟีนอลและฟลาโวนอยด์มากที่สุด และมีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าเนื้อแอปเปิ้ล  อีกทั้งช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งตับไม่ให้เจริญได้มากเมื่อเทียบกับส่วนประกอบอื่นของผลแอปเปิ้ล

อย่างไรก็ดี ผู้ที่ต้องการรับประทานแอปเปิ้ลเพื่อเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ไม่ว่าจะช่วยลดคอเลสเตอรอลหรือป้องกันมะเร็งนั้น ไม่ควรหวังพึ่งประโยชน์จากการรับประทานแอปเปิ้ลเพียงอย่างเดียว แต่ควรสร้างสุขลักษณะที่ดีในการดำเนินชีวิตควบคู่กับการเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ในกรณีที่ประสบปัญหาสุขภาพ เนื่องจากการทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้แอปเปิ้ลเป็นสารป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าแอปเปิ้ลมีสารอาหารที่ช่วยเรื่องดังกล่าวจริง แต่ต้องค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อเจาะจงว่าสารอาหารจากธรรมชาติตัวใดที่ป้องกันเซลล์มะเร็ง รวมทั้งระบุระยะเวลาและปริมาณการบริโภคที่ช่วยให้ได้รับสรรพคุณทางยาจริง ทั้งนี้ ยังไม่มีงานวิจัยประเด็นดังกล่าวที่เกี่ยวกับคนมากนัก โดยผลการทบทวนงานวิจัยอีกชิ้นแสดงให้เห็นว่าสารอาหารหรือสารสกัดแอปเปิ้ลมีฤทธิ์ป้องกันมะเร็งและต้านอนุมูลอิสระสำหรับการวิจัยในหลอดทดลอง และผลิตภัณฑ์จากแอปเปิ้ลช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งผิวหนัง เต้านม หรือลำไส้ในการทดลองกับสัตว์ จึงไม่อาจชี้ชัดได้ว่าการรับประทานแอปเปิ้ลจะช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพดังกล่าวในคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รักษาความดันโลหิต

สารฟลาโวนอยด์ในแอปเปิ้ลส่งผลดีต่อความดันโลหิต ระดับไขมันในเลือด ฮอร์โมนเลปติน ภาวะอ้วน และอาการอักเสบในร่างกาย งานวิจัยหนึ่งได้ทำการทดลองเกี่ยวกับประสิทธิภาพการรักษาความดันโลหิตด้วยยาควบคู่กับการรับประทานอาหารฟลาโวนอยด์สูงที่มีต่ออาการป่วย โดยให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอายุ 20-55 ปี จำนวน 79 ราย แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่กินยาแคปโตพริล กลุ่มที่กินยาแคปโตพริลร่วมกับฟลาโวนอยด์ กลุ่มที่กินยาเทลมิซาร์เทน และกลุ่มที่กินเทลมิซาร์เทนร่วมกับฟลาโวนอยด์ เป็นเวลา 6 เดือน พบว่ากลุ่มที่รับประทานยาร่วมกับอาหารสารฟลาโวนอยด์สูงจากแอปเปิ้ลแดงอบแห้ง ดาร์คช็อกโกแลต และชาเขียวมีระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ลดลงร้อยละ 30.6 เมื่อเทียบกับผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วยยาความดันโลหิตสูงเพียงอย่างเดียว

ยิ่งไปกว่านั้น เปลือกแอปเปิ้ลยังอุดมไปด้วยสารฟลาโวนอยด์ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการบีบตัวของหลอดเลือดในร่างกาย อันเป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง งานวิจัยที่ผ่านมาได้ศึกษาประเด็นดังกล่าว โดยนำสารสกัดฟลาโวนอยด์จากแอปเปิ้ลมาทดสอบกับเซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือดมนุษย์ในหลอดทดลอง พบว่าสารฟลาโวนอยด์มีฤทธิ์ต้านกระบวนการที่ก่อให้เกิดการบีบตัวของหลอดเลือด ช่วยควบคุมความดันโลหิต อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้จำเป็นต้องทำการศึกษากับสัตว์หรือคนเพิ่มเติมต่อไป

แม้จะปรากฏงานวิจัยหลายชิ้นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของผักผลไม้ที่ช่วยลดความดันโลหิต แต่ผลวิจัยเหล่านั้นก็ได้จากการทดลองระยะสั้น และมีงานวิจัยที่ศึกษาประเด็นดังกล่าวในระยะยาวไม่มากนัก ผู้ที่ต้องการได้รับประโยชน์ของแอปเปิ้ลสำหรับดูแลปัญหาสุขภาพ จึงควรรับประทานแอปเปิ้ลแต่พอดี เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ช่วยรักษาปัญหาสุขภาพดังกล่าวในระยะเวลาและปริมาณที่เหมาะสม

ทั้งนี้ ควรเลือกรับประทานผักผลไม้ให้หลากหลาย เนื่องจากยังมีสารอาหารอื่นที่ช่วยในเรื่องเสริมสร้างการทำงานของหลอดเลือดซึ่งรวมไปถึงโพแทสเซียม งานวิจัยชิ้นหนึ่งได้ศึกษาเปรียบเทียบระดับโพแทสเซียมที่ส่งผลต่อการทำงานของหลอดเลือด พบว่าการบริโภคกล้วยและมันฝรั่งซึ่งมีโพแทสเซียมสูงภายใน 1 สัปดาห์ช่วยเพิ่มปริมาณการไหลเวียนเลือดเมื่อเทียบกับการรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำกว่าอย่างแอปเปิ้ลหรือข้าว ถึงอย่างนั้น ผลการทดลองดังกล่าวไม่ปรากฏความแตกต่างของความดันโลหิตที่ชัดเจนจากการบริโภคอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงและอาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ อาจกล่าวได้ว่าการรับประทานแอปเปิ้ลหรือพืชผลไม้อื่น ๆ เพื่อหวังสรรพคุณทางยานั้น จำเป็นต้องรับประทานแต่พอเหมาะ เนื่องจากยังไม่ปรากฏผลรับรองทางการแพทย์ อีกทั้งสารอาหารบางอย่างที่ได้รับมากเกินไปอาจส่งผลต่อภาวะสุขภาพบางประการได้

เสริมสร้างระบบประสาท

พาร์กินสันคือปัญหาสุขภาพเกี่ยวเนื่องกับระบบประสาทที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว ผู้ป่วยอาจเริ่มมือสั่นและเกิดอาการมากขึ้น รวมทั้งเกิดอาการข้อติดแข็งหรือเคลื่อนไหวได้ช้าร่วมด้วย งานวิจัยชิ้นหนึ่งต้องการพิสูจน์ว่าการบริโภคอาหารฟลาโวนอยด์สูงจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคดังกล่าวได้หรือไม่ โดยให้ผู้เข้าร่วมการทดลองที่เป็นโรคพาร์กินสันจำนวน 805 ราย ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้ชีวิตและประวัติการเจ็บป่วยต่าง ๆ รวมทั้งเก็บข้อมูลการบริโภคของผู้ป่วยตั้งแต่ปี 1986 เพื่อนำมาวิเคราะห์ พบว่าผู้เข้าร่วมการทดลองเพศชายที่ได้รับสารฟลาโวนอยด์ในปริมาณสูงเสี่ยงเกิดโรคพาร์กินสันน้อยกว่าผู้ที่รับสารฟลาโวนอยด์ต่ำ คิดเป็นร้อยละ 40 อย่างไรก็ตาม ยังไม่อาจสรุปได้ว่าการรับประทานอาหารที่มีฟลาโวนอยด์สูงอย่างแอปเปิ้ล ชา เบอร์รี่ ไวน์แดง หรือส้ม จะช่วยป้องกันการป่วยเป็นโรคดังกล่าวได้ เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างระดับสารฟลาโวนอยด์ที่ได้รับกับความเสี่ยงการเกิดโรคพาร์กินสันไม่ปรากฏกับผู้เข้าร่วมการทดลองเพศหญิง

อย่างไรก็ดี สารฟลาโวนอยด์อาจไม่ส่งผลต่อระบบประสาทอย่างที่กล่าวอ้างกันมา โดยงานวิจัยอีกชิ้นได้ศึกษาเปรียบเทียบสรรพคุณของสารฟลาโวนอยด์จากแอปเปิ้ลและสารไนเตรทจากผักปวยเล้ง พบว่าแอปเปิ้ลและผักปวยเล้งช่วยเพิ่มระดับไนเตรทที่พบตามน้ำลายหรือปัสสาวะ แต่ไม่ปรากฏผลชี้ชัดว่าสารอาหารจากพืชทั้งสองอย่างบำรุงหรือทำลายกระบวนการการเรียนรู้และอารมณ์ของผู้บริโภค

กินแอปเปิ้ลอย่างไรให้ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ

แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่รับประทานได้ทุกเพศทุกวัย โดยจะรับประทานแอปเปิ้ลทั้งผลหรือดื่มเป็นน้ำแอปเปิ้ลก็ได้ ส่วนสารโพลีฟีนอลจากแอปเปิ้ลอาจปลอดภัยต่อร่างกายในกรณีที่บริโภคหรือใช้ทาผิวในระยะสั้น ที่สำคัญ ควรเลี่ยงรับประทานเมล็ด เนื่องจากเมล็ดแอปเปิ้ลมีไซยาไนด์ซึ่งเป็นยาพิษ หากรับประทานเมล็ดแอปเปิ้ลเข้าไปในปริมาณมาก อาจได้รับไซยาไนด์ที่ปล่อยออกมาในกระเพาะอาหารเมื่อเกิดการย่อย โดยหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมจากสหรัฐอเมริกาได้จัดอันดับแอปเปิ้ลให้เป็นผลไม้ที่ปนเปื้อนสารพิษมากที่สุด ผู้ที่ต้องการรับประทานแอปเปิ้ลจึงควรล้างแอปเปิ้ลให้สะอาดก่อนนำมาบริโภค ทั้งนี้ ผู้ที่ประสบภาวะสุขภาพบางอย่างควรระวังการรับประทานแอปเปิ้ล ดังนี้

  • สตรีมีครรภ์หรือผู้ที่ให้นมบุตรรับประทานแอปเปิ้ลได้ แต่ควรเลี่ยงรับประทานแอปเปิ้ลเพื่อหวังผลทางยา เนื่องจากยังไม่ปรากฏข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการรับประทานแอปเปิ้ลจำนวนมากสำหรับรักษาปัญหาสุขภาพ
  • ผู้ที่เกิดอาการแพ้อาหารบางอย่างควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานแอปเปิ้ล เนื่องจากอาจเกิดอาการแพ้ได้ โดยปรึกษาแพทย์ในกรณีที่แพ้แอพปริคอต อัลมอนด์ ลูกพลัม พีช ลูกแพร์ หรือสตรอว์เบอร์รี่
  • ผู้ป่วยเบาหวานควรสังเกตระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งจำกัดปริมาณการบริโภคแอปเปิ้ลและน้ำแอปเปิ้ล เนื่องจากอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้

หากใครที่อยากผลิตอาหารเสริมเพื่อการบำรุงต่อมลูกหมาก อาหารเสริมผู้ชาย ผลิตกาแฟลดน้ำหนัก ผลิตชาลดน้ำหนัก สามารถติดต่อเราได้ทันที เพราะ โรงงานผลิตอาหารเสริม Herb Supplements เราเป็น โรงงานผลิตอาหารเสริม ที่ได้คุณภาพ มีมาตรฐาน อีกทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญในด้านสารสกัดจากธรรมชาติ  เราให้คำปรึกษาคุณฟรี คลิกที่นี่

ติดตามสาระความรู้เรื่องอื่นๆได้ทางนี้ คลิกเลย

ผลิตกาแฟ

โรงงานผลิตกาแฟ กาแฟดีท็อกซ์ รับผลิตกาแฟ รับผลิตอาหารเสริม โรงงานรับผลิตกาแฟ บริษัทผลิตกาแฟ ผลิตกาแฟลดน้ำหนัก โรงงานรับผลิตอาหารเสริม ผลิตคอลลาเจน โรงงานผลิตอาหารเสริม ผลิตอาหารเสริมคอลลาเจน ผลิตอาหารเสริมราคาถูก รับผลิตคอลลาเจน ผลิตกาแฟ 3 in 1 ผลิตกาแฟซอง รับผลิตกาแฟเพื่อสุขภาพ รับผลิตอาหารเสริม โรงงานผลิตกาแฟ oem ผลิตกาแฟดีท็อกซ์ รับผลิตอาหารเสริมดีท็อกซ์