ออฟฟิศซินโดรม ภัยร้ายใกล้ตัวชาวออฟฟิศ

เตือนภัยสาร ลอร์คาเซริน
อันตราย!! ตรวจพบสาร ลอร์คาเซริน ในอาหารเสริมลดความอ้วน
05/07/2019
หัวใจล้มเหลว ภัยร้ายใกล้ตัวกว่าที่คิด
หัวใจล้มเหลว ภัยร้ายใกล้ตัวกว่าที่คิด
20/09/2019
เตือนภัยสาร ลอร์คาเซริน
อันตราย!! ตรวจพบสาร ลอร์คาเซริน ในอาหารเสริมลดความอ้วน
05/07/2019
หัวใจล้มเหลว ภัยร้ายใกล้ตัวกว่าที่คิด
หัวใจล้มเหลว ภัยร้ายใกล้ตัวกว่าที่คิด
20/09/2019
Show all

ออฟฟิศซินโดรม ภัยร้ายใกล้ตัวชาวออฟฟิศ

ออฟฟิศซินโดรม ภัยร้ายใกล้ตัวชาวออฟฟิศ

ออฟฟิศซินโดรม ภัยร้ายใกล้ตัวชาวออฟฟิศ

เชื่อว่าหนุ่มสาวชาวออฟฟิศหลายๆ คน คงจะเคยได้ยินชื่อโรค ออฟฟิศซินโดรม อย่างแน่นอน โดยออฟฟิศซินโดรมนั้น คือ อาการปวดกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากรูปแบบการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง เช่น การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานเกินไป โดยไม่ขยับ ผ่อนคลายหรือปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ซึ่งอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง รวมไปถึงอาการชาที่บริเวณแขนหรือมือ จากการที่เส้นประสาทส่วนปลายถูกกดทับอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และการดูแลสุขภาพของตนเองตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้

อาการของ ออฟฟิศซินโดรม

  1. ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก มักมีอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจน อาจมีอาการปวดร้าวไปบริเวณใกล้เคียงร่วมด้วยมีลักษณะอาการปวดล้าๆ ความรุนแรงมีได้ตั้งแต่ปวดเล็กน้อยเพียงรำคาญจนถึงปวดรุนแรงทรมานอย่างมาก
  2. อาการของระบบประสาทอัตโนมัติซึ่งพบร่วมได้ เช่น ซ่า วูบ เย็น เหน็บ ซีด ขนลุก เหงื่อออก ตามบริเวณที่ปวดร้าว ถ้าเป็นบริเวณคออาจมีอาการมึนงง หูอื้อ ตาพร่า
  3. อาการทางระบบประสาทที่ถูกกดทับ เช่น อาการชาบริเวณแขนและมือ รวมถึงอาการอ่อนแรง หากมีการกดทับเส้นประสาทนานจนเกินไป

สาเหตุของการเกิดออฟฟิศซินโดรม

  1. การนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานานมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน
  2. ท่าทางในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งหลังค่อม ท่าก้มหรือเงยคอมากเกินไป
  3. สภาพแวดล้อมหรืออุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสม
  4. สภาพร่างกายที่อาจส่งผลต่ออาการเจ็บป่วย เช่น ภาวะเครียดจากงาน การอดอาหาร การพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายต้องแบกรับความตึงเครียดปราศจากการผ่อนคลาย

แนวทางการรักษาออฟฟิศซินโดรม

  1. การรักษาด้วยยา
  2. การรักษาด้วยวิธีทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูและการทำกายภาพบำบัดเพื่อยืดกล้ามเนื้อและปรับอิริยาบถให้ถูกต้อง
  3. การปรับสถานีงาน พื้นที่การทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน และลักษณะงานให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
  4. การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพร่างกายโดยรวม
  5. การรักษาด้วยศาสตร์ทางเลือกอื่น เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทย

เคล็ดลับการป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม

  1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ (Be Fit)
  2. ระวังเรื่องของท่าทาง บุคลิกของตัวเอง อย่าไหล่ห่อ อย่านั่งค่อม
  3. ในเรื่องของการยกของจากพื้นควรระวัง ใช้ท่าทางที่เหมาะสม เพื่อเป็นการป้องกันโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน
  4. วางแผนการเคลื่อนไหวบนโต๊ะทำงาน โดยการจัดโต๊ะทำงาน หรือพื้นที่ทำงานให้เหมาะสม ควรจัดวางของที่ต้องใช้ให้ใกล้ตัว ใกล้มือ จะได้ไม่ต้องเอี้ยวตัวอยู่บ่อยครั้ง และไม่ต้องก้มตัวขึ้นลง หันซ้ายหันขวา ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเคล็ดได้
  5. เมื่อเกิดอาการปวดเมื่อย อย่าฝืนร่างกาย ให้เดินไปดื่มน้ำ ไปเข้าห้องน้ำ 3-5นาที เป็นการแก้ปัญหาได้แล้ว เป็นการป้องกันปัญหาได้อีกด้วย
  6. ระมัดระวังการใส่ส้นสูง ถ้าไม่จำเป็นก็ให้หลีกเลี่ยง แต่ถ้าจำเป็นต้องใส่ ควรใส่ไม่เกิน 2นิ้ว หรือ 4-5เซนติเมตรเท่านั้น
  7. การระมัดระวังเรื่องความเครียด เพราะความเครียดทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยได้เช่นกัน
  8. ควรยกของให้ถูกต้อง ถูกท่าทาง ท่ายกที่ดี มุมจุดหมุนและน้ำหนักควรอยู่ใกล้กัน พยายามให้หลังตรงตลอด เพราะมิเช่นนั้นช่วงล่างจะเกิดอาการหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้

 

หากใครที่อยากผลิตอาหารเสริมเพื่อการบำรุงต่อมลูกหมาก อาหารเสริมผู้ชาย ผลิตกาแฟลดน้ำหนัก ผลิตชาลดน้ำหนัก สามารถติดต่อเราได้ทันที เพราะ โรงงานผลิตอาหารเสริม Herb Supplements เราเป็น โรงงานผลิตอาหารเสริม ที่ได้คุณภาพ มีมาตรฐาน อีกทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญในด้านสารสกัดจากธรรมชาติ  เราให้คำปรึกษาคุณฟรี คลิกที่นี่

ติดตามสาระความรู้เรื่องอื่นๆได้ทางนี้ คลิกเลย